ประวัติลีลาศ ใน ประเทศไทย
"การลีลาศเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อใด ไม่มีหลักฐานแน่ชัด"
จากบันทึกของแหม่มแอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
มีการบันทึกว่าในช่วงหนึ่งของการสนทากับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นางได้แนะนำการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นได้รับความนิยมเต้นกันในวังแถบยุโรป แต่นางพบว่าพระองค์ทรงเต้นเป็นแต่เดิมอยู่แล้ว ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลาย มีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว บางครั้งได้นำเอาจังหวะวอลซ์ไปใช้ในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี
การเต้นจังหวะวอล์ซ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายจะเข้าเฝ้าในงานนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลาเก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์
ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ “ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ” โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน มีสถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือ วนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า คำว่า “ เต้นรำ ” เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า“ลีลาศ” ขึ้นแทนคำว่า “เต้นรำ” นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น “สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย”
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่ม มีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขา Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ในไทย ทำให้การลีลาศเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง “ สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2491 ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ ด้วยประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยจอมพลสฤษณ์ ธนะรัตต์ ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา
อ้างอิง
http://arthurmurraydanceschools.com/2015/12/08/finding-the-waltz-beat-easy-as-1-2-3/
http://oknation.nationtv.tv/blog/health-stnb/2011/01/12/entry
ผู้จัดทำ
นางสาว จินต์จุฑา สุวประพันธ์ เลขที่ 2
นางสาว ญาณิภัค สดคมขำ เลขที่ 3
นาย นภัทร หลิมศิโรรัตน์ เลขที่ 14
นาย รัฐพงศ์ อัมไพวรรรณ เลขที่ 19
นาย วิศรุต นิติเรือจรัส เลขที่ 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น